วันอังคารที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2550

::การทำงานของเอนไซม์::

การทำงานของเอนไซม์

ในร่างกายของสิ่งมีชีวิตมีเอนไซม์มากมายหลายชนิด แม้แต่แบคทีเรียหรือจุลินทรีย์ที่มีขนาดเล็กๆ จะมีเอนไซม์ไม่น้อยกว่า 1000ชนิด การทำงานของเอนไซม์ คือ การเร่งปฏิกิริยาโดยเอนไซม์ เอนไซม์ทำหน้าที่เร่งปฏิกิริยาให้เกิดเร็วขึ้น โดยการไปลดพลังงานกระตุ้น (activation energy) ของปฏิกิริยานั้นให้ลดลง ตามปกติปฏิกิริยาเคมีจะเกิดขึ้นได้ต้องประกอบด้วยปัจจัยต่างๆคือ
1.มีการชนกัน (collision) ของอนุภาคในแง่มุมที่เหมาะสม

2.อนุภาคที่ชนกันต้องมีพลังงานสูงพอที่จะทำลายพันธุเคมี (bond) เก่าแล้วเกิดพันธะเคมีใหม่ได้

3.พลังงานกระตุ้นจะช่วยเพิ่มพลังงานให้แก่อนุภาคและทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงได้


พลังงานกระตุ้น (activation energy) หมายถึง พลังงานที่น้อยที่สุดที่ทำให้การชนของอนุภาคเป้นผลสำเร็จ หรือเกิดปฏิกิริยาเคมีขึ้นได้ ดังนั้นถ้าอนุภาคของสารตั้งต้นชนกันแล้ว มีพลังงานไม่สูงเท่าพลังงานกระตุ้นปฏิกิริยาก้จะไม่เกิดขึ้น

พลังงานการกระตุ้น ทำให้อนุภาพของสารเปลี่ยนแปลงดังนี้
1.อนุภาพของสารเคลื่นที่เร็วขึ้น เพราะได้รับพลังงานเพิ่มขึ้น
2.โอกาสที่เกิดการชนกันของอนุภาคมีมากขึ้น
3.โอกาสที่เกิดการชนกันในตำแหน่งที่เหมาะสมมีมากขึ้น
4.ขนาดความแรงของการชนกันมีมากขึ้น และเพียงพอที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงได้

การเร่งปฏิกิริยาเคมีให้เกิดขึ้นโดยการเติมตัวเร่งปฏิกิริยาซึ่งตัวเร่งปฏิกิริยาจะไปลดพลังงานกระตุ้นลงทำให้ถึงสภาพเปลี่ยน (transition state) ได้เร็วขึ้น สภาพเปลี่ยนของปฏิกิริยานี้มีการเร่งปฏิกิริยา จะมีพลังงานต่ำกว่าปฏิกิริยาที่ไม่มีตัวเร่งปฏิกิริยา

ไม่มีความคิดเห็น: