วันศุกร์ที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2550

สมาชิกผู้จัดทำ




กลุ่มนักวิจัย/โรงเรียนร้อยเอ็ดวิทยาลัย




"สาวสวย น่ารักกุ๊กกิ๊กประจำกลุ่ม (เสียดายรูปไม่ชัด~ -*-)"

น.ส.ฐาปนี จอมคำศรี

ชื่อเล่น ออม

เกิด 5 กุมภาพันธ์ 2535 ปี วอก เวลา 06.51น.

สิ่งที่ชอบ : Hello Kitty สีสดใส
หนังสือที่ชอบ :หนังสือเรียน

ชอบวิชา : ชีววิทยา เคมี






"สาวน้อยสดใส หน้าตาสูงวัย พี่หมิวนี่เหนอ - - เหอๆ "

น.ส.ธีรานันท์ พุทธลา

ชื่อเล่น หมิว

เกิด วันที่ 15 พฤษภาคม 2534

E-mail : funnygirl_tm@hotmail.com

miew_endlesslove@hotmail.com



"สาวน้อย ร่างใหญ่ สไตล์นุนิ"

น.ส.ขนิษฐา เผ่ามงคล

ชื่อเล่น นุ๊นิ

เกิด วันที่ 29 เมษายน 2534

E-mail : ladygun_nuni@hotmail.com





"หนุ่มหล่อ มาดเข้ม ดัดฟันเขียวแสด <55+>"

นาย สรวิชญ์ เปรมเจริญ

ชื่อเล่น ปอ

เกิด วันที่ 21 พฤษภาคม 2534

E-mail : sorawit.zeo@hotmail.com



"หัวหน้าห้องสุดหล่อ ขอบอกว่าแมนเกือบ100!!"

นาย สุภกฤษ จันทรประทักษ์

ชื่อเล่น แบงค์

เกิด วันที่ 21 มีนาคม 2535

E-mail : zeata_romio@hotmail.com



"หนุ่มจ๋อยประจำทีม ฝีมือครบครัน รับประกันความเทพ"

นาย ศักดาวุธ มณีกัญญ์

ชื่อเล่น เอฟ

เกิด วันที่ 4 ตุลาคม 2534

สิ่งที่ชอบ : คอมฯ หนังสือ เกม โจทย์ฟิสิกส์ การเรียน และผู้หญิง<อิอิ ไม่ชอบก็แปลก>

E-mail : Aef_mail@hotmail.com



"สาวสวยพราวเสน่ห์ ฝีปากดี"

น.ส.อรญา เตชอุดมรัตน์

ชื่อเล่น หม่อม

เกิด วันที่ 7 มีนาคม 2535

E-mail : mom_suwadee@hotmail.com



"สาวสวยน่ารัก <แต่รูปนี้น่ากลัว>"
น.ส. สอร ศิริพานิช

ชื่อเล่น น้ำตาล

เกิด วันที่ 4 ธันวาคม 2534

E-mail : i_drink_water_123@hotmail.com





"เด็กแว่นสดใส สไตล์ซนๆปานลิง"

น.ส.อรุณวรรณ อาชาวุฒิ

เกิด19 ธันวาคม 2534 ปี มะแม เวลา 20

สิ่งที่ชอบ : ชอบกินเสต็คที่แม่ทำ เวลาว่าง ชอบอ่านการ์ตูน ดูการ์ตูน เพลงที่ชอบ j-pop k-pop

หนังสือที่ชอบ แฮร์รี่ พ๊อตเตอร์ หนังที่ชอบ แฮร์รี่ พ๊อตเตอร์

สีที่ชอบ สีแดง ดาราที่ชอบน่ะ ทอม เฟลตัน

E-mail : koganei_kaoru13@hotmail.com

เบอร์โทร 085-0012832

เบอร์บ้าน 043-589106

วันพฤหัสบดีที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2550

::ข้อสอบ::

ตัวอย่างข้อสอบเข้ามหาลัย ( :

1.) เหตุที่เราไม่ถือน้ำดีเป็นเอนไซม์

1. น้ำดีไม่ทำปฏิกิริยาเคมีกับสารชั้นต้น
2. ปฏิกิริยาน้ำดีกับสารตั้งต้น ไม่มีน้ำเข้าร่วมด้วย
3. เมื่อน้ำดีทำปฏิกิริยากับสารตั้งต้น แล้วสภาพของน้ำดีเปลี่ยนไป
4. ปฏิกิริยาระหว่างน้ำดีกับสารตั้งต้นไม่ให้พลังงานออกมา

2.) ในระหว่างเกิดปฏิกิริยาสิ่งที่เปลี่ยนแปลงไปมากที่สุดคืออะไร

1. เอนไซม์
2. ซับเสตรต
3. ออกซิเจน
4. น้ำ

3.) ในปฏิกิริยาเคมีเอนไซม์มีหน้าที่อะไร

1. พลังงานกระตุ้น
2. ลดพลังงานภายใน
3. เพิ่มพลังงานภายใน
4. เร่งปฏิกิริยาการชนกัน

4.) ในสภาพแวดล้อมใดต่อไปนี้ เอนไซม์ทำงานได้ดีที่สุด

1. อุณหภูมิ 45 C PH6
2. อุณหภูมิ 35 C PH5
3. อุณหภูมิ 20 C PH7
4. อุณหภูมิ 18 C PH6

5.) ในกระบวนการหายใจระดับเซลล์ของสิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่งพบว่ามีสาร X Y Z เกิดขึ้นโดยอาศัยเอนไซม์ A
และ B เป็นตัวเร่ง เมื่อใส่สารยับยั้งการทำงานของ A พบว่าจะทำให้ X และ Z น้อยลง แต่ Y เพิ่มขึ้น
และเมื่อใส่สารยับยั้งการทำงานของ B จะทำให้ X เพิ่มขึ้น Y ไม่เปลี่ยนแปลง แต่ Z น้อยลง ปฏิกิริยาที่
เกิดขึ้นควรมีลำดับเป็นแบบใด

1. X Y Z
2. Y Z X
3. Y X Z
4. Z X Y

6.) เอนไซม์คู่ใดที่มีหน้าที่ย่อยตรั้งสุดท้ายก่อนที่สารที่ถูกย่อยจะสามารถดูดซึมจากทางเดินอาหาร
circulationได้

1. dipeptidase , amylase
2. galactase , lipase
3. lipase , dipeptidase
4. maltase , pepsin

7.) ถ้านำเอนไซม์ชนิดย่อยสลายพวกโมเลกุลของกรดไรโบนิวคลีอิกใส่เข้าสู่เชลล์สิ่งมีชีวิตจะมีผลกระทบ
ต่อการทำงานของเซลล์เป็นลำดับแรกคือกระบวนการ

1. เมแทบอลิซึมของไขมัน
2. สังเคราะห์โปรตีน
3. สังเคราะห์ ATP
4. เมแทบอลิซึมของกูลโคส

8.) ในการทดลองใช้เอนไซม์ย่อยสารชนิดหนึ่งที่อุณหภูมิต่างกันปรากฏผลดังนี้

หลอดทดลองที่ ---อุณหภูมิ ---เวลาที่ใช่ย่อยสลาย
---1 ---------------20 C -------15 นาที
---2 ---------------30 C --------6 นาที
---3 ---------------40 C --------3 นาที
---4 ---------------50 C ------ไม่เปลี่ยนแปลง

การทดลองนี้สรุปผลสำคัญได้อย่างไร

1. เอนไซม์ย่อยสารได้ช้าที่สุดที่อุณหภูมิ 20 C
2. เอนไซม์ย่อยสารได้ช้าที่สุดที่อุณหภูมิประมาณ 50 C
3. เอนไซม์สลายตัวที่ 40 C
4. เอนไซม์ทำงานได้ดีที่สุดที่อุณหภูมิประมาณ 40 C

9.) การทดลองเกี่ยวกับสาร (A หรือ B) และเอนไซม์ ( และ ) หรือตัวยับยั้ง (Im และ Ix)

ที่เติมในหลอดทดลอง 6 หลอด และผลการวิเคราะห์ ผลิตภัณฑ์แต่ละหลอดหลังเกิดปฏิกิริยา มีดังนี้
--หลอดที่ --สารและเอนไซม์หรือตัวยับยั้งในแต่ล่ะหลอด --ผลการวิเคราะห์

1.----------A+E1+Im----------------------พบสารA ไม่พบสาร BและสารC
2.----------A+E1+Ix----------------------พบสารC พบสาร A น้อยมาก
3.----------A+E1--------------------------พบสารC พบสาร A น้อยมาก
4.----------B+E2--------------------------พบสารA พบสาร B น้อยมาก
5.----------B+E2+Ix----------------------พบสารA พบสาร B น้อยมาก
6.----------B+E2+Im---------------------พบสารA พบสาร B เท่ากัน

หากการทดลองเดิม สาร A ,สาร B, และ ในหลอดทดลองเดียวกันลำดับของปฏิกิริยาควรเป็นอย่างไร

------E2----- E1
1.B>>>>>A>>>>>C
------E1----- E2
2.A>>>>>C>>>>>B
------E2----- E1
3.B>>>>>C>>>>>A
------E2----- E1
4.A>>>>>B>>>>>C









-------------- ขอให้สนุกน่ะครับ..( : ----------

วันอังคารที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2550

::การยับยั้งเอนไซม์::

การยับยั้งเอนไซม์

สารยับยั้งเอนไซม์ (inhibihor) เป็นสารที่ทำให้เอนไซม์ทำงานช้าลงหรือหยุดการทำงาน สารยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ส่วนใหญ่จะยับยั้งการทำงานของเอนไซม์เฉพาะอย่างกล่าวคือ สารยับยั้งเอนไซม์ จะทำให้ปฏิกิริยาอย่างหนึ่งเท่านั้นช้าลงหรือหยุดชะงัก แต่จะไม่มีผลต่อปฏิกิริยาอื่นๆ ที่ใช้เอนไซม์ตัวอื่นในการเร่งปฏิกิริยา ในบางกรณีที่มีปฏิกิริยาต่อเนื่องกันหลายขึ้นตอน เช่น ซับสเตรต A เปลี่ยนไปเป็น ผลิตภัณฑ์ B โดยเอนไซม์ a และผลิตภัณฑ์ B ถูกเปลี่ยนไปเป็นผลิตภัณฑ์ C โดยเอนไซม์ b ถ้าหากเอนไซม์ชนิดแรกคือเอนไซม์ a ถูกยับยั้งลง ก็จะเป็นผลให้เกิดผลิตภัณฑ์ B น้อยลงหรือไม่เกิด เอนไซม์ b จึงเปลี่ยนผลิตภัณฑ์ B ให้เป็นผลิตภัณฑ์ C ได้น้อยหรือไม่ได้เลย ในกรณ๊นี้สารยับยั้งเอนไซม์ a ไม่ได้ยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ b แต่เอนไซม์ b ทำงานไม่ได้เนื่องจากไม่มีซับสเตรต B หรือมีน้อยนั่นเอง

การยับยั้งเอนไซม์ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1.สารยับยั้งแบบไม่ทวนกลับ (irreversible inhibitor) สารประเภทนี้จะจับกับเอนไซม์อย่างถาวรด้วยพันธุโคเวเลนต์ (Covalent bond) ทำให้เอนไซม์ไม่สามารถเร่งปฏิกิริยาได้ และเอนไซม์ก็ไม่สามารถกลับคืนสู่สภาพปกติได้ ทำให้เอนไซม์ชนิดนั้นสูญเสียสมบัติในการเป็นเอนไซม์ไป สารประเภทนี้ได้แก่สารอินทรีย์ที่มีฟอสเฟต เช่น ไอไอโซโปรปิล ฟอสฟอฟลูโอริเดท (diisopropyl phosphofluoridate,DFP) อเรส(acetylcholinesterase) ซึ่งมีความสำคัญต่อการทำงานของระบบประสาทโดยแอซิติลโคลีนเอสเทอเรสจะทำหน้าที่ย่อยสลายสารแอซิติลโคลีน (acetylcholine) ซึ่งเป็นสารสื่อประสาท (neurotransimtter) บริเวณซิแนปส์ (synapse) เมื่อมีการส่งกระแสประสาทผ่านซิแนปส์จะมีการปล่อยสารแอซิติลโคลีนทำให้กระแสประสาทผ่านไปแล้วเอนไซม์โคลีนเอสเทอเรสจะถูกปล่อยออกมาย่อยสลายแอซิติลโคลีน เพื่อให้เซลล์ประสาททำงานได้อีก ดังนั้นเมื่อแอซิติลโคลีนเอสเทอเรสถูกยับยั้งการทำงานกระแสประสาทจึงส่งผ่านซิแนปส์ไม่ได้
2.สารยับยั้งแบบทวนกลับ(reversible ingibitor) สารยับยั้งแบบทวนกลับแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด
2.1 การยับยั้งแบบแข่งขัน (competitive inhibitor) สารยับยั้งชนิดนี้มีมีรูปร่างคล้ายกับซับสเตรตทำให้สามารถแย่งจับกับเอนไซม์ได้ ดังนั้นถ้าหากมีสารยับยั้งชนิดนี้มากๆ จะมีผลให้ซับสเตรตจับกับเอนไซม์ได้น้อยลง ทำให้ปฏิกิริยาช้าลงหรือหยุดชะงักได้ใทนองเดียวกัน ถ้าหากมีซับสเตรตมากและมีสารยับยั้งน้อยก็จะมีผลต่อปฏิกิริยาน้อยมาก เนื่องจากซับสเตรตแย่งจับกับเอนไซม์ได้มากกว่างไม่มีเอนไซม์อิสระมาจับกับสารยับยั้ง ตัวอย่างเช่น เอนไซม์ซักซิเนต ดีไฮโดรจีเนส (succinate dehydrogenase) มีกรดซักซินิก (succinic scid) เป็นซับสเตรตและมีกรดมาโลนิก (malonic acid) เป็นสารยับยั้งเอนไซม์ สารทั้งสองตัวมีรูปร่างของโมเลกุลคล้ายกัน
2.2 การยับยั้งแบบไม่แข่งขัน (non-competitive inhibitor) สารยับยั้งชนิดนี้จะจับกับ เอนไซม์ได้เป็นเอนไซม์ สารยับยั้งคอมเพล็กซ์ (enzyme - inhibitor,El complex) หรือทั้งสารยับยั้งและซับสเตรตจับกับเอนไซม์โมเลกุลเดียวกันได้เกิดเป็น เอนไซม์ - ซับสเตรต - สารยับยั้งคอมเพล็ก (enxymi - substrate - inhibitor complex, ESI complex) ทำให้ไม่สามารถทำปฏิกิริยาต่อไปได้หรือทำให้ช้าลงมากสารยับยั้งพวกนี้ได้แก่ Ag,Hg,ซึ่งจะทำปฏิกิริยากับหมู่ -SH ของกรดอะมิโนซีสเทอีน ทำให้เอนไซม์หมดประสิทธิภาพในการเร่งปฏิกิริยาทั้งๆที่เอนไซม์ก็จับกับซับสเตรตได้ สารยับยั้งที่เป็นไอออนของโลหะแก้ได้โดยการเติมสารที่จับกับโลหะได้ เช่น ESTA (edhylenediamine tetraacetate) เป็นต้น
จากความรู้เรื่องสารยับยั้นี้ทำให้สามารถนำความรู้มาใช้ประโยชน์ในการหาลำดับของปฏิกิริยาต่างๆได้ เช่น ปฏิกิริยาการหายใจมีหลายขึ้นตอนสามารถใช้สารยับยั้ง ติดตามการทำงานของเอนไซม์แต่ละตัวให้โดยการวิเคราะห์ต่างๆ ในปฏิกิริยา

::การทำงานของเอนไซม์::

การทำงานของเอนไซม์

ในร่างกายของสิ่งมีชีวิตมีเอนไซม์มากมายหลายชนิด แม้แต่แบคทีเรียหรือจุลินทรีย์ที่มีขนาดเล็กๆ จะมีเอนไซม์ไม่น้อยกว่า 1000ชนิด การทำงานของเอนไซม์ คือ การเร่งปฏิกิริยาโดยเอนไซม์ เอนไซม์ทำหน้าที่เร่งปฏิกิริยาให้เกิดเร็วขึ้น โดยการไปลดพลังงานกระตุ้น (activation energy) ของปฏิกิริยานั้นให้ลดลง ตามปกติปฏิกิริยาเคมีจะเกิดขึ้นได้ต้องประกอบด้วยปัจจัยต่างๆคือ
1.มีการชนกัน (collision) ของอนุภาคในแง่มุมที่เหมาะสม

2.อนุภาคที่ชนกันต้องมีพลังงานสูงพอที่จะทำลายพันธุเคมี (bond) เก่าแล้วเกิดพันธะเคมีใหม่ได้

3.พลังงานกระตุ้นจะช่วยเพิ่มพลังงานให้แก่อนุภาคและทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงได้


พลังงานกระตุ้น (activation energy) หมายถึง พลังงานที่น้อยที่สุดที่ทำให้การชนของอนุภาคเป้นผลสำเร็จ หรือเกิดปฏิกิริยาเคมีขึ้นได้ ดังนั้นถ้าอนุภาคของสารตั้งต้นชนกันแล้ว มีพลังงานไม่สูงเท่าพลังงานกระตุ้นปฏิกิริยาก้จะไม่เกิดขึ้น

พลังงานการกระตุ้น ทำให้อนุภาพของสารเปลี่ยนแปลงดังนี้
1.อนุภาพของสารเคลื่นที่เร็วขึ้น เพราะได้รับพลังงานเพิ่มขึ้น
2.โอกาสที่เกิดการชนกันของอนุภาคมีมากขึ้น
3.โอกาสที่เกิดการชนกันในตำแหน่งที่เหมาะสมมีมากขึ้น
4.ขนาดความแรงของการชนกันมีมากขึ้น และเพียงพอที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงได้

การเร่งปฏิกิริยาเคมีให้เกิดขึ้นโดยการเติมตัวเร่งปฏิกิริยาซึ่งตัวเร่งปฏิกิริยาจะไปลดพลังงานกระตุ้นลงทำให้ถึงสภาพเปลี่ยน (transition state) ได้เร็วขึ้น สภาพเปลี่ยนของปฏิกิริยานี้มีการเร่งปฏิกิริยา จะมีพลังงานต่ำกว่าปฏิกิริยาที่ไม่มีตัวเร่งปฏิกิริยา

ปฏิกิริยาเคมีในเซลล์ของสิ่งมีชีวิต

ในเซลล์ของสิ่งมีชีวิตมีปฏิกิริยาเคมีต่างๆ เกิดขึ้นมากมาย ซึ่งได้แก่

การย่อยอาหาร (digestion) เป็นการสลายสารโมเลกุลใหญ่ (mocromolecule) ซึ่งร่างกายนำไปใช้ประโยชน์ไม่ได้ให้เป็นสารโมเลกุลเล็ก (micromolecule) ซึ่งร่างกายนำไปใช้ประโยชน์ได้ เช่น การย่อยแป้งหรือน้ำตาลโมเลกุลคู่และน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยวตามลำดับ การย่อยโปรตีนให้เป็นกรดอะมิโน หรือการย่อยไขมัน จนได้กรดไขมันและกรีเซอรอล





การหายใจ (respiration) คือ การแลกเปลี่ยนก๊าซระหว่างร่างกายของสิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม โดยการนำก๊าซออกซิเจนจากอากาศเข้าสู่ร่างกายและเซลล์ทั่งร่างกายในขณะเดียวกันก็ถ่ายเทก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากเซลล์ทั่วร่างกายออกสู่อากาศภายนอกผลที่ได้จากการหายใจก็คือพลังงาน ซึ่งจะถูกนำไปใช้ในกิจกรรมต่างๆ เช่น การทำงาน การขนส่งสารเข้าและออกจากเซลล์ การสังเคราะห์สาร ฯลฯ
การหายใจมีลักษณะหลายอย่างที่คล้ายคลึงและแตกต่างจากการเผาไหม้ ก๊าซออกซิเจน เป็นก๊าซที่ใช้ในการหายใจ ในอากาศที่เราใช้ในการหายใจ ประกอบไปด้วยก๊าซหลายชนิด ซึ่งมีปริมาณแตกต่างกัน





การสร้างสาร (synthesis) เป็นปฏิกิริยาเคมีที่เกิดขึ้น ในสิ่งมีชีวิตที่เกิดจากการสังเคราะห์สารโมเลกุลใหญ่จากการรวมตัวของสารโมเลกุลเล็กเช่น การสังเคราะห์เป็นแป้งจากน้ำตาลกลูโคส การสังเคราะห์โปรตีน (protein synthesis) จากกรดอะมิโน การสังเคราะห์ไขมันจากกรดไขมันและกลีเซอรอล การสังเคราะห์ด้วยแสง(photosynthesis) ซึ่งสังเคราะห์น้ำตาลจากโฒเลกุลของน้ำและคาร์บอนไดออกไซด์เป็นต้น

เอนไซม์ (enzyme)

ปฏิกิริยาเคมีในสิ่งมีชีวิตเรียกว่า ปฏิกิริยาชีวเคมี (bionchemical reaction) ซึ่งเป็นปฏิกิรยาที่ต้องอาศัยปัจจุบันต่างๆ ที่เหมาะสมโดยมีเอนไซม์(enzyme) เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา โดยปกติสารตั้งต้นของปฏิกิริยาชีวเคมีสามารถเปลี่ยนไปเป็นสารผลิตภัณฑ์ได้ช้าหรืออาจไม่เปลี่ยนแปลงเลยถ้าขาดเอนไซม์ที่ทำหน้าที่เร่งปฏิกิริยา

เอนไซม์เป็ฯสารจำพวกโปรตีนที่มีโมเลกุล (globular protein) ประกอบด้วยพอลิเพปไทด์ที่ม้วนตัวเป็นก้อน ซึ่งมีทั้งชนิดที่ประกอบด้วยพอลิเพปไทด์สายเดี่ยวและบางชนิดอาจมีพอลิเพปไทด์หลายสายม้วนตัวและจับกันเป็นก้อน เอนไซม์มีมวลโมเลกุล 1 แสน ถึงมากกว่า 1 ล้าน เอนไซม์มีสมบัติเป็นคะทาลิสต์(catalyst) คือ เร่งปฏิกิริยาเคมีที่เกิดขึ้นภายในเซลล์ และภายในร่างกายของสิ่งมีชีวิต แต่หลายชนิดยังสามารทถงานนอกเซลล์ ซึ่งมีใภพใกล้เคียงกับภายในเซลล์ได้ ตัวอย่างของเอนไซม์ เช่น เอนไซม์เพปซินย่อยสารโปรตีน เอนไซม์ลิเพส ย่อยลิพิด เอนไซม์อะไมเลสย่อยแป้ง เป็นต้น
เอนไซม์แบ่งออกเป็นหลายชนิด และมีชื่อแตกต่างกันออกไป เช่น
เอนไซม์ที่มีชื่ตามซับสเตรต (substraie) ของปฏิกิริยาที่มีเอนไซม์นั้นเร่งและโดยการเติม -เอน(-ase) ลงท้ายซับสเตรตนั้น เช่น มอลโทส(maltase) เร่งการสลายน้ำตาลมอลโทส (maltose) ยูรีเอส(urease) เร่งปฏิกิริยาการสลายของยูเรีย (urea)
เอนไซม์บางชนิดมีชื่อตามปฏิกิริยาที่เร่ง เช่น เอนไซม์ดีคาร์บอกซิเลส(decarboxylase) เป็นเอนไซม์ที่เร่งปฏิกิริยาดีคาร์บอกซิกเลชั่น(decaboxylation) คือดึง คาร์บอนไดออกไซด์ ออกจากหมู่ไฮดรอกซิล(hydroxyl group) ของสาร เอนไซม์ดีไฮโดรจีเนส (dehydrogenase) เป็นเอนไซม์ที่เร่งปฏิกิริยาดีไฮโดรจีเนชัน (dehydrogenation) คือดึงไฮโดรเจนออกจากสาร
เอนไซม์บางชนิดมีชื่อเฉพาะซึ่งไม่ได้ตั้งชื่อตามระบบอะไร เช่น เพปซิน(pepsin) ปาเปน(papain) ทริปซิน(trysin) เป็นต้น

เมื่อมีการศึกษาและพบเอนไซม์มากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้เกิดการสับสนในการเรียนชื่อ เอนไซม์ ดังนั้นคณะกรรมการเอนไซม์นานาชาติ(international enzyme commission) ได้จัดระบบและจำแนกเอนไซม์โดยการให้หมายเลขตามระบบและจำแนกเอนไซม์โดยการให้หมายเลขตามระบบนี้ได้แบ่งเอนไซม์ออกเป็น 6 จำพวกใหญ่(class) แต่ละจำพวกใหญ่จะแบ่งออกเป็นจำพวกย่อย(subclass) แต่ละพวกย่อยก็จะมีหมายเลขของตัวเองตามชื่อระบบ (systematic name) ของเอนไซม์แต่ละตัว ซึ่งจะบอกถึงซับเสตรตที่เข้าทำปฏิกิริยาและลักษณะสำคัญของปฏิกิริยาเคมีที่เกิดขึ้นเอินไซม์ 6 จำพวกใหญ่ มีดังนี้

1.ออกซิโดรีดักเทส(oxidoreductase)เป็นปฏิกิริยาที่เกี่ยวข้องกับปฏิกิริยาออกซิเดชันรีดักชัน(oxidation - reduction) เช่น เอนไซม์ในปฏิกิริยาการหายใจระดับเซลล์ ซึ่งมีการดึงอิเล็กตรอนและไฮโดรเจนไอออนจากสาร คือ เอนไซม์ ดีไฮโดรจีเนส (dehydrogenase) เช่น แลกเตด ดีไฮโดรจีเนส(lactate dehydrogenase)ดึงไฮโดรเจนไอออน และอิเลกตรอนออกจากกรดแลกติก โดยมี NAD+ เป็นโคเอนไซม์

2.ทรานสเฟอเรส(transferase) เป็นเอนไซม์ที่เกี่ยวข้องในการแลกเปลี่ยนหมู่หรือตำแหน่งของ หมู่ฟังก์ชัน (functional group) ในโมเลกุลของสาร เช่นอะมิโนทรานสเฟอเรส (amino transferase) ทำหน้าที่เคลื่อนย้ายหมู่อะมิโน
เฮกโซไคเนส (hexokinase) เป็นเอนไซม์ที่เร่งปฏิกิริยาการย้ายหมู่ฟอสเฟตจาก ATP ได้
กับน้ำตาลเฮกโซส (hexose เช่น กลูโคส)

hexose + ATP ----->hexose - 6 - phosphate + ADP
3.ไฮโดรเลส (hexolinase) เป็นเอนไซม์ที่เกี่ยวข้องกับการใส่น้ำเข้าไปในปฏิกิริยาซึ่เรียกว่าปฏิกิริยาไฮโดรไลซิส(hydrolysis) เช่น ลิเพส(lipase) เพปซิน(pepsin)
4.ไลเอส(lyase) เปนเอนไซม์ที่เกี่ยวข้องกับการแยกหมู่ของอะตอมออก และเกิดผลในการสร้างดับเบิลบอนด์ (double bond) และไม่มีน้ำเข้าช่วย เช่น เอนไซม์ ดีคาร์บอกซิเลส (decardoxylase) ซึ่งจะดึงคาร์บอนไดออกไซด์ออกมาจากโมเลกุล เอนไซม์ฟูมาเรส (fumarase) เร่งปฏิกิริยาการเปลี่ยนกรดมาลิก (maliv avid) ให้เป็นกรดฟูมารอก (fumaric acid)
5.ไอโซเมอเรส(isomerase) เป็นเอนไซม์ที่เกี่ยวกับการเปลี่ยนไอโซเมอร์ (isomer) ของสาร เช่น กลูโคส ฟอสเฟต ไอโซเมอรอล(glucose phosphate isomerase) เปลี่ยนไอโซเมอร์ ของ กลูโคส -6-ฟอสเฟต เป็นฟรักโทส -6-ฟอสเฟต
6.ซินเทเทส(synthetase) หรือไลเกส(ligase) เป็นเอนไซม์ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างสารโมเลกุลเล็ก เช่น ซิเตรต ซินเทส(citrate synthase) เป็นเอนไซม์ที่ส้างซิเตรตจากออกซาโลแอซิเตต และแอซิติลโคเอนไซม์เอ ในวัฎจักรเครบส์ (Krebs cycle)

::สมบัติของเอนไซม์::

สมบัติของเอนไซม์
เนื่องจากเอนไซม์เป็นสารโปรตีน ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงของสภาพสิ่งแวดล้อมต่างๆ จะมีผลต่อการทำงานของเอนไซม์ภายในเซลล์สภาพแวดล้อมที่มีผลต่อการทำงานของเอนไซม์ได้แก่

1.อุณหภูมิ (temperature) อุณหภูมิที่พอเหมาต่อการทำงานของเอนไซม์ทำให้เอนไซม์เร่งปฏิกิริยาได้ดีเรียกว่า อุณหภูมิที่เหมาะสม(optimum temperature) ถ้าหากสูงหรือต่ำกว่านี้ปฏิกิริยาจะลดลงเนื่องจากเอนไซม์ทำงานได้ไม่เต็มที่ และอาจทำให้เสียสภาพ (demature) ได้ อุณหภูมิที่เหมาะสมต่อเอนไซม์ทั่วๆ ไป คือ ประมาณ 25-40 องศาเซลเซียส

2.ความเป็นกรด - เบส(pH) มีผลต่อการทำงานของเอนไซม์เช่นเดียวกับอุณหภูมิ pH ที่เหมาะสมเรียกว่า optimum pH เอนไซม์ทั่วไปทำงานได้ดีที่ pH ประมาณ 6 - 7.5

3.ประมาณของเอนไซม์และซับสเตรต เมื่อมีปริมาณของเอนไซม์ของซับสเตรตเพิ่มมากขึ้นโอกาสที่จะเกิดจากการจับตัวของเอนไซม์ และซับสเตรตก็มีมากขึ้นด้วย ดังนั้นปฏิบัติกิริยาจึงเกิดขึ้นได้เร็วในทางตรงกันข้าม ถ้าหากมีเอนไซม์หรือซับสเตรตน้อยลงก็จะทำให้การจับตัวของเอนไซม์กับซับสเตรตน้อยลงด้วยปฏิกิริยาจึงเกิดได้ช้าลง